ความขัดกันระหว่างความเป็นทาสกับเสรีภาพในความเป็นอเมริกันในบริบทของทฤษฎีการเมืองเสรีนิยม

บทที่ 1 ความเป็นทาสและการแบ่งแยกสีผิว

การเกิดขึ้นของทาสในทวีปอเมริกา

หลังจากที่สเปนได้ยึดครองดินแดนบางส่วนของทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมแล้ว ได้เกิดการล้มตายของชาวพื้นเมืองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสเปนใช้แรงงานคนกลุ่มนี้อย่างหนัก และ   คนสเปนได้นำเอาเชื้อโรคจากยุโรปเข้ามาสู่โลกใหม่ จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวมา ส่งผลให้เกิด     การนำทาสผิวดำเข้ามาใช้ในทวีปอเมริกา ซึ่งอาณานิคมเวอร์จิเนียถือเป็นอาณานิคมแรกที่นำทาส ผิวดำเข้ามาใช้ในการเพาะปลูกเมื่อปี 1619 ต่อมา การใช้ทาสผิวดำได้ขยายไปทั่วอาณานิคมที่เป็นของอังกฤษในทวีปอเมริกา (1)

การค้าทาสในทวีปอเมริกา ได้สร้างผลดีต่อทั้งรัฐทางเหนือและทางใต้ โดยพ่อค้าทางเหนือจะได้รับผลกำไรจำนวนมากจากการค้าทาส อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางเหนือมีการเพาะปลูกเป็นแปลงเล็กๆ ส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นที่จำต้องใช้คนผิวดำมากนัก ต่างจากทางใต้ที่ได้ประโยชน์  จากการใช้ทาสในการเพาะปลูกเนื่องจากเป็นการทำไร่แปลงใหญ่ โดยเฉพาะในการปลูกยาสูบ ข้าว และคราม

การแบ่งแยกสีผิว

การแบ่งแยกสีผิวและการเหยียดเชื้อชาติโดยเฉพาะต่อคนนิโกร มีมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมและได้สืบเนื่องจากมาจนถึงการปฏิวัติอเมริกาและสืบเนื่องมาจนถึงสงครามกลางเมืองที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐทางเหนือและทางใต้จนนำไปสู่การเลิกทาสในที่สุด หากแต่หลังจากนั้น การแบ่งแยกสีผิวและความรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้น ก่อนจะได้รับการปรับปรุงให้นิ่มนวลขึ้นหลัง     ปีค.ศ. 1965

หลังสงครามกลางเมืองได้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์กลุ่มหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบด้านลบต่อการเรียกร้องเสรีภาพของคนดำ นั่นคือ กลุ่มความรู้เรื่องเชื้อชาติ (race) ที่เริ่มก่อตัวและมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ซึ่งมีผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของคนผิวดำในสังคม      ทุนนิยม ทฤษฏีนี้ได้อธิบายและสร้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ว่าคนดำหรือนิโกรและคนเผ่าอื่นๆ มีวิวัฒนาการที่เป็นลำดับขั้น และคนผิวดำอยู่ในขั้นต่ำหรือยังไม่มีวัฒนธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับ คนตะวันตก ดังนั้น จึงได้มีการนำความรู้ดังกล่าวมาอธิบายถึงความแตกต่างและสร้างความชอบธรรมแก่คนขาวว่าต้องมีความพิเศษกว่าคนผิวดำ และทฤษฎีนี้ยังได้ช่วยสร้างความชอบธรรม      แก่แนวคิดของตะวันตกที่ต้องการจะขยายดินแดนและล่าอาณานิคม ดังนั้น การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนดำไม่เพียงต้องต่อสู้กับอำนาจรัฐของคนผิวขาว แต่ยังต้องต่อสู้กับความเป็นอคติต่อเชื้อชาติอีกด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีทาสและการแบ่งแยกสีผิว

  1. ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในช่วงที่ระบบทาสยังคงมีบทบาทอยู่ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเจ้านายต่อทาสในการปกครอง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไม่มีกฎหมายใดๆที่เข้ามารองรับความเป็นมนุษย์ของทาส ทำให้เจ้านายสามารถจะกระทำการใดๆก็ได้กับทาส ซึ่ง     ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะกระทำต่อผู้อื่น        การกระทำดังกล่าวมักเป็นไปในทางที่กดขี่และพยายามทำให้ทาสหวาดกลัวและมีความจงรักภักดี

  1. ปัญหาสังคม

เมื่อระบบทาสได้รับถูกยกเลิกไป ทาสบางกลุ่มยังไม่มีความพร้อมที่จะดำรงอยู่อย่างเสรี  ทำให้เกิดปัญหาที่ว่า คนกลุ่มนี้จะดำรงอยู่อย่างไรในสังคม ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถปรับตัวกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ สุดท้ายแล้วคนกลุ่มนี้จะจัดอยู่ในกลุ่มคนที่ไร้ที่อยู่ หรือว่างงาน ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาทางสังคมอื่นๆ ตามมาอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นข้ออ้างของกลุ่มคนที่ไม่ต้องการให้ทาสเป็นอิสระว่า คนกลุ่มนี้ยังไม่มีความพร้อมและความสามารถที่จะใช้ชีวิตได้อย่างโดดเดี่ยว โดยขาดการควบคุมดูแล

การมีทาสทำให้เกิดแรงงานไร้ฝีมือในระบบทาส ทาสส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาเนื่องจากมีข้อห้ามที่จะให้สอนหนังสือทาส ทำให้ทาสขาดความรู้ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนหลังการยกเลิกระบบทาส ที่มีแรงงานไร้ฝีมือเป็นจำนวนมาก และการที่ทาสจำนวนหนึ่งได้รับอิสรภาพ ทำให้พวกเขาไม่มีความต้องการที่จะทำงานที่เป็นการเฉพาะซึ่งแตกต่างจากตอนที่ทำงานให้กับเจ้านายเมื่อตอนที่ยังเป็นทาส ทำให้เกิดปัญหาว่ามีทาสกลุ่มหนึ่งไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานและไม่ต้องการที่จะศึกษาสิ่งใหม่ๆ

  1. กลุ่มที่ต่อต้านการยกเลิกระบบทาส

หลังจากที่มีการยกเลิกระบบทาสแล้วได้มีกลุ่มอดีตนายทาสเก่าทำการรวมตัวกันขึ้น      เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้ทาสและคนผิวดำมีความเท่าเทียมกับคนผิวขาว จึงจัดตั้งสมาคม    Klu Klax Klan ที่มีการใช้ความรุนแรงในการกวาดล้างคนผิวดำ ซึ่งองค์กรนี้ได้กระจายตัวอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะทางใต้ที่ไม่ต้องการให้มีการยกเลิกระบบทาส

 

บทที่ 2 เสรีภาพในความหมายของอเมริกัน เปรียบเทียบกับทฤษฎีการเมืองเสรีนิยม

ความหมายของเสรีภาพในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

อาจกล่าวได้ว่า “เสรีภาพ” ของสหรัฐอเมริกา ได้     ก่อรูปขึ้นอย่างชัดเจนจากการปฏิรูปใหญ่สองครั้ง คือ          การปฏิวัติอเมริกาในปี 1776 และสงครามการเมือง                 ปี 1861-1865  ซึ่งเป็นการปฏิวัติชนชั้นกระฏุมพี(2) เนื่องจากจุดมุ่งหมายของทั้งสองครั้งก็เพื่อแก้ปัญหาเรื่องทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของเอกชน

การปฏิวัติอเมริกา เน้นในเรื่องทรัพย์สินมรดก(3)      ซึ่งได้รวมเอา “ทาส” เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งด้วย          การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ทำให้เอกชนสามารถก้าวขึ้นมา       มีอำนาจเหนือทรัพย์สินแทนที่จะเป็นของรัฐบาลอาณานิคมในระบบฟิวดัลอย่างสมบูรณ์แบบ      ซึ่งเป็นรูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั่นเอง เกิดขึ้นจากแรงสนับสนุนจากระบบ               การปกครองแบบประชาธิปไตยที่ก่อรูปโครงสร้างอำนาจและทรัพย์สินในรูปแบบใหม่

ส่วนในสงครามกลางเมือง ได้มีการส่งเสริมทรัพย์สินของโรงงานและการขนส่งคมนาคม โดยเน้นกิจการรถไฟ(4) ในขณะเดียวกันก็ได้ทำลายทรัพย์สินในตัวมนุษย์ ซึ่งเป็นการพัฒนาของระบบทุนนิยมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมภาคเหนือและภาคตะวันตก ซึ่งเป็นความต้องการที่ขัดกับภาคใต้ที่ยังใช้ระบบทาสอย่างแพร่หลาย หลังจากที่ฝ่ายเหนือได้รับชัยชนะจากสงครามทำให้   ระบบทุนกลายเป็น “เสรี” ทั้งหมด รวมทั้ง ระบบทาสได้กลายเป็นแรงงานเสรี (ตามกฎหมาย)

หากมองหลักการที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา 1787 ไม่ได้มีความเชื่อและความศรัทธาในความเป็นมนุษย์ดังที่เคยปรากฏใน       “คำประกาศเอกราช” นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มความสำคัญของทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งหากมอง             ในความเป็นจริงแล้ว ตัวทรัพย์สินได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม และอาจทำให้เกิด        การแบ่งแยกทางสังคม โดยเปลี่ยนจากความขัดแย้งทาง “ชนชั้น” มาสู่ความขัดแย้งของ           “กลุ่มผลประโยชน์” ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินส่วนตัวมากกว่าความเสมอภาคของคนในสังคม ทำให้เกิดคำถามว่า คนผิวดำจะดำรงอยู่ในฐานะใดของสังคม เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่มีทรัพย์สินและยังเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น            (คนผิวขาว) ดังนั้น จึงทำให้เกิดข้อสังเกตว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แท้จริงแล้วไม่ได้บัญญัติว่า  คนผิวดำเป็นมนุษย์เสรีแต่อย่างใด

 

นิยามทฤษฎีการเมืองเสรีนิยม (Liberalism)

แนวคิดเสรีนิยม มองว่ามนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผล และมีความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ที่ตนเองต้องการได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการแทรกแซงเพื่อ                แบ่งผลประโยชน์ให้แก่บุคคลต่างๆ สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาของมนุษย์ โดยแนวคิดนี้มีสมมติฐานว่า สังคมมีความผสมกลมกลืนกันและมีความสมดุลกันอยู่ในตัว เมื่อใดที่เกิดปัญหาขึ้นก็จะเป็นอยู่เพียงชั่วคราวและจะมีการปรับตัวแก้ไขเองให้กลับคืนสู่สภาวะสมดุลอยู่เสมอ ดังนั้น แม้ว่าการกระจายความมั่งคั่งจะไม่เท่าเทียมกันก็จะไม่ได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม        ในระดับสูงต่อระบบ แนวคิดนี้ ได้รับอิทธิพลบางส่วนจากกลุ่มผลประโยชน์ และบทบาทของ   กลุ่มดังกล่าว เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มของประชาชน ซึ่งจะคอยรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตนและที่สำคัญคือ กลุ่มต่างๆเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และสะท้อนความต้องการของประชาชน(บางส่วน)ต่อรัฐบาลอีกด้วย

การรวมตัวของกลุ่มต่างๆ จะมีผลประโยชน์ร่วมกันที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นตัวแทน       ภาคส่วนต่างๆได้เป็นอย่างดี ต่างกลุ่มต่างก็มีการถ่วงดุลซึ่งกันและกันเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มใด  กลุ่มหนึ่งมีอิทธิพลในการขับเคลื่อนผลประโยชน์ของตนมากเกินไปจนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เกิดพลังในการตรวจสอบรัฐบาล ในส่วนของรัฐบาลก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้      เกิดกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใหม่ขึ้นเช่นเดียวกัน ในระบบนี้รัฐบาลเปรียบเสมือนผู้ควบคุมและดูแลความเรียบร้อยของสังคม เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันของกลุ่มต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้           เกิดข้อตกลงและการต่อรองในกรอบกฎหมายในกรณีที่เกิดความขัดแย้งขึ้น

กระแสเสรีนิยมนี้ ได้เสื่อมความนิยมลงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้เกิด      การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก ทำให้เกิดสงครามเย็นที่เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้วอุดมการณ์ และหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง กระแสความนิยมต่อแนวคิดเสรีนิยมก็ได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้งโดยเฉพาะในส่วนนักวิชาการและผู้นำโลกตะวันตก เนื่องจากมีความเชื่อว่า สังคมประชาธิไตยจะทำให้เกิดความสันติภาพ เนื่องจากจะไม่มีแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงแต่จะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

 

การเปรียบเทียบระหว่างเสรีภาพในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาและทฤษฎีการเมืองเสรีนิยมในกรอบทางประวัติศาสตร์

 

เสรีภาพในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

ทฤษฎีการเมืองเสรีนิยม

–                    ประชาธิปไตย –                    ประชาธิปไตย
–                    ความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ –                    ความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์
–                    ทรัพย์สินเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดสิทธิทางการเมือง –                    มนุษย์มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง

       

  1. ประชาธิปไตย

ทั้งเสรีภาพในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาและทฤษฎีการเมืองเสรีนิยมได้ยึดถือประชาธิปไตยซึ่งเป็นอุดมการณ์หลักของสหรัฐอเมริกาและสังคมในยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นหลักสำคัญของกรอบความคิดทั้งสองเป็นแนวทางการดำเนินนโยบายและขับเคลื่อนอุดมการณ์

1.2.        กลุ่มผลประโยชน์

หลังจากการปฏิวัติอเมริกา ได้มี “คำประกาศอิสรภาพ” ซึ่งเน้นในเรื่องชนชั้น โดยแบ่งตามการถือครองทรัพย์สิน ดังนั้น  ทาสที่มีฐานะเป็นทรัพย์สินของผู้ถือครองและไม่สามารถที่จะถือครองทรัพย์สินอื่นได้  ทาสในสังคมอเมริกันจึงเป็นเพียงสิ่งของที่เอาไว้ต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น จากที่กล่าวมา ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทาสกับเจ้านาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เน้นไปในทางชนชั้น แต่เมื่อต่อมา ความขัดแย้งดังกล่าวได้เปลี่ยนจากความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นความขัดแข้งของ               กลุ่มผลประโยชน์แทน เนื่องจากชนชั้นได้ล่มสลายไปตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯที่ได้ร่างขึ้น  จากสภาพดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ชนชั้นไม่ได้ล่มสลายไปอย่างแท้จริง แต่เปลี่ยนรูปโดยการรวมกลุ่มของคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และเกิดการแข่งขันกันจนทำให้เกิดความขัดแย้งในเวลาต่อมา

ต่างจากทฤษฎีการเมืองเสรีนิยมที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มผลประโยชน์ในแง่ที่ว่าจะเป็นส่วนที่สำคัญในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและที่สำคัญคือ เป็นกลุ่มที่ช่วยเสนอความคิดและความต้องการของประชาชนสู่รัฐบาล แนวคิดนี้เห็นว่ากลุ่มผลประโยชน์ต่างๆจะพยายามถ่วงดุลอำนาจกัน หากมีกลุ่มใดได้ประโยชน์มากกว่ากลุ่มอื่น จะเกิดการรวมกลุ่มของกลุ่มที่เหลือเพื่อเข้ามาลดอำนาจของกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ที่ค่อนข้างผูกขาด

3.              ทรัพย์สิน

จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ในบางช่วงตอนนั้นทรัพย์สินได้มีค่ามากกว่าคุณค่าความเป็นมนุษย์ โดยช่วงก่อนการปฏิวัติอเมริกา ทาสมีฐานะเป็นเพียง “ทรัพย์สิน”ของเจ้านาย ดังนั้น จึงหมายความว่า ทาสไม่มีฐานะของความเป็นมนุษย์ ต่อมาในช่วงสงครามกลางเมือง ทรัพย์ที่สำคัญคือการเป็นเจ้าของในโรงงานและอาคารบ้านเรือน คือ เน้นในด้านทรัพย์สินส่วนตัวที่เป็นสิ่งของมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะให้ทาสเป็นแรงงานเสรีซึ่งได้ทำให้    เกิดความขัดแย้งในเวลาต่อมา จึงจะเห็นได้ว่า ความเป็นมนุษย์ของทาสยังคงอยู่และดำรงต่อไป  หากไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงโดยระบบหรือโครงสร้างภาพรวม ซึ่งต่างจากในแนวคิดเสรีนิยมที่มีความคิดว่า มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการพัฒนาตัวเองและมีความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ที่เอื้อกับความต้องการของตนเอง และการที่มนุษย์มีเสรีภาพจะทำให้มนุษย์นั้นสามารถพัฒนาตนเองได้ ซึ่งขัดกับเสรีภาพแบบสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นขั้วตรงข้าม

บทที่ 3 บทบาทและสิทธิของทาสในสหรัฐอเมริกา

 บทบาททางด้านการเมือง

                 ตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ทาสไม่ใช่ประเด็นที่มีการโต้แย้งจนกระทั่งเบนจามินแฟรงคลินที่มีความต้องการที่จะยกเลิกระบบทาส ทำให้ประเด็นเรื่องทาสขึ้นมามีความสำคัญ(โดยเฉพาะเมื่อมีความผูกพันกับเรื่องการเมืองในสภา) ซึ่งส่งผลกระทบกับการเข้าร่วมของรัฐใหม่

เดิมที “ทาส” เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสถานะทางการเมืองในสหรัฐฯ เนื่องจากแนวคิดที่ว่า     คนผิวดำหรือทาสไม่มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์เพียงพอให้ได้รับสิทธิทางการเมือง ดังนั้น  ทาสและคนผิวดำจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีบทบาททางการเมืองมาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีคนดำ      บางกลุ่มจะเป็นเสรีชน แต่คนผิวดำมักถูกมองว่าเป็นทาสในลำดับแรก จึงทำให้เกิดการเรียกร้อง       การมีส่วนร่วมทางการเมืองจากคนผิวดำกลุ่มนี้ เนื่องจากเรื่องทางการเมืองได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับการดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและการดำรงไว้ซึ่งความเป็นเสรีชน อาจกล่าวสรุปได้ว่าคนผิวดำไม่ได้รับส่วนแบ่งทางการเมืองจนกระทั่งช่วงฟื้นฟูบูรณะภาคใต้ช่วงปี 1928               

ต่อมาเมื่อมีการประกาศเลิกทาสในสหรัฐฯ ทำให้ทาสได้เปลี่ยนกลายเป็นเสรีชน ดังนั้น ประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงมีความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิด

1.คนผิวดำได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งเปลี่ยนจากการที่มีค่าเท่ากับ 3 ใน 5 ของคนผิวขาว ทำให้คนผิวดำมีบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมีเพิ่มมากขึ้น และเปรียบเสมือนสิ่งที่คนผิวดำจำนวนมากได้ต่อสู้เรียกร้องได้เกิดขึ้นมาจริงๆ

2. คนผิวดำได้รับสิทธิในการรับสมัครเลือกตั้ง ในปี 1928 มีคนผิวดำได้รับเลือกเข้าสู่    สภาครองเกส จวบจนปัจจุบันได้มีการผ่านร่างกฎหมายทางด้านสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมาก  การที่คนผิวดำได้รับการเลือกตั้งมากขึ้นในเวลาต่อมา ทำให้มีความต้องการและความหวังที่จะสร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการเมืองอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังเกิดกลุ่มผลประโยชน์(Interest groups) ของคนผิวดำขึ้น ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 มีองค์กรขนาดใหญ่ได้แก่ NAACP และ the Urban League และ SCLC และ      the National Council of Negro Women เป็นกลุ่มผลประโยชน์ย่อยๆที่มีบทบาทในการตัดสินใจทางนโยบายของสหรัฐฯ แม้ว่า NAACP และ the Urban League จะมีความสัมพันธ์กับการต่อรองทางด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่าจะมีบทบาทในการกำหนดนโยบายของภาครัฐ อย่างไรก็ตามใน ช่วงทศวรรษ 1970 คนผิวดำได้เข้าร่วมในการกำหนดนโยบายทางการเมืองมากยิ่งขึ้น และได้ให้ความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน และการถือครองทรัพย์สินเป็นหลัก

ประเด็นของคนผิวดำมักจะเน้นในเรื่องสิทธิในร่างกายและทรัพย์สินเป็นปัญหาหลัก    เป็นส่วนที่ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ของคนผิวดำจุดมุ่งหมายที่ต่างจากกลุ่มของคนขาว โดย  กลุ่มเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายหลายประการ เช่น ความต้องการให้มีการจ้างงาน ความต้องการให้มี    การปรับปรุงระบบสวัสดิการ  ประกันชีวิต การศึกษา และการให้ความสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก

หากมองถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของคนผิวดำแล้ว จะเห็นได้ว่า ให้ความตระหนักถึงการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติเป็นพิเศษ โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ

  1. ความตระหนักทางการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับสังคมแอฟริกันอเมริกันโดยตัวมันเอง
  2. ความตระหนักทางการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
  3. ความตระหนักทางการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวแทนทางการเมือง

ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งประชาชนคนผิวดำได้ความตระหนักที่จะมีส่วนร่วมทาง การเมืองสูงมาก ประชาชนต้องการที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยมีความคิดที่ว่าการเลือกตั้งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้

อย่างไรก็ตาม การที่มีความสำนึกทางการเมืองเป็นอย่างมากของคนผิวดำ ทำให้เกิดกรณีที่เรียกว่า “racial vote” (5) เนื่องจากคนผิวดำมักเลือกผู้สมัครผิวดำมากกว่าพิจารณาคุณสมบัติอื่น     ทำให้เกิดความไม่พอใจของคนผิวขาว การกระทำดังกล่าวอาจเกิดจากการที่คนผิวดำมีอุดมการณ์ร่วมกันในฐานะที่ถูกคนผิวขาวกดขี่เป็นเวลานาน อีกทั้งไม่ได้รับการศึกษาทางการเมืองเป็นอย่างดี ทำให้ผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้ามาเกิดจาก”ชาติพันธุ์”เป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากความสามารถที่แท้จริง ส่งผลโดยตรงกับการบริหารงานของรัฐที่อาจไม่ได้ผู้ที่มีความเหมาะสมเข้ามาทำงาน

บทบาททางด้านเศรษฐกิจ

–                การจ้างงาน

คนแอฟริกันอเมริกันให้ความสำคัญกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการจ้างงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่กระทบโดยตรงกับการดำรงชีวิตอยู่ โดยบทบัญญัติในปี 1946 มีจุดมุ่งหมายจะให้มีการจ้างงานอย่างเป็นสากล เนื่องจากในช่วงแรก ระบบเศรษฐกิจของอเมริกันได้รับผลกระทบจากปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและสีผิว จนทำให้คนแอฟริกันว่างงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องความมั่นคงที่มีการอ้างว่าเป็นเรื่องที่สำคัญจึงทำให้คนผิวดำอาจไม่ได้งานในขอบเขตดังกล่าว

คนผิวดำให้การสนับสนุน Humphrey-Hawkins Act ปี 1978 (6) ที่มีส่วนช่วยให้อัตราการว่างงานของคนผิวดำลดต่ำลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ปัญหาอัตราการว่างงานได้มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะ และในบางช่วง มีอัตราที่สูงเป็นเลขสองหลักเลยทีเดียว (7) แม้ว่าจะมีการลดข้อจำกัดในการจ้างงานหากแต่ประเด็นหลักของการจ้างงานอยู่ที่ผลประโยชน์ร่วมของแรงงานและหน่วยงานที่จะจ้างงาน นอกจากนี้ การเรียกร้องในประเด็นการลดอัตราการว่างงานได้ส่งผลด้านบวกไม่เพียงเฉพาะกับคนผิวดำหากแต่คนผิวขาวก็ได้ผลดีดังกล่าวไปด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอีกประการที่ทำให้คนผิวดำมีความลำบากในการหางานมากกว่า  คนขาว คือ การที่ธุรกิจต่างๆมักจะไม่อยู่ตามตัวเมือง  แต่กระจายออกไปทำให้คนผิวดำได้รับความลำบากในการเดินทางและจากภาวะที่ไม่มีความพร้อมในการเดินทางไปทำงานต่างชานเมือง และหากต้องการย้ายไปอยู่ตามชานเมืองจะถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายและอาจเป็นสิ่งแปลกปลอม     จากสังคมบริเวณนั้นอีกด้วย

และสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย คือ การเหยียดผิวที่ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานคนผิวดำ ดังจะมีตัวอย่างอยู่ในหลายกรณีซึ่งในปัจจุบัน การเหยียดผิวดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่

–                   รายได้

หากพิจารณาถึงรายได้ของคนผิวดำและผิวขาวแล้วจะเห็นได้ว่ามีความห่างในระดับหนึ่ง  มีครอบครัวกว่าครึ่งที่มีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ย ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามการที่คนดำมีรายได้ในอัตราที่ต่ำก็อยู่ในช่วงที่พออยู่พอกิน แต่ก็ไม่ถึงกับระดับที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ให้สูงพอที่จะเป็น “ชีวิตที่ดี” ได้ เนื่องจากรายได้ของคนผิวดำนั้นมีอยู่ 2 ทาง คือ มาจากรายได้รวมของครอบครัวและได้มาจากการที่มีสมาชิกในครอบครัวย้ายไปอยู่ในเมืองอื่นที่มีรายได้ที่สูงกว่า

บทบาททางด้านสังคม

–                   ครอบครัว

เสรีภาพไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของปัจเจก หากแต่เป็นเรื่องของความเป็นสถาบันทางสังคมที่ได้รับการพัฒนาและมีความเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเรื่องการรื้อฟื้นสถาบันครอบครัว เนื่องจากช่วงที่เป็นทาสคนผิวดำไม่สามารถดำรงครอบครัวให้ความเป็นได้อย่างเป็นปกติ  เนื่องจากชีวิตของคนในครอบครัวอยู่ภายใต้ความต้องการของเจ้านาย ทาสสามารถซื้อและขายทาสได้ตามที่ต้องการ

–                   การศึกษา

ประชากรคนผิวดำนั้นไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการในช่วงที่เป็นทาส ในช่วงที่ยังคงความเป็นทาส ทาสต้องแอบทำการเรียนการสอนในครอบครัวหรือในโรงเรียนลับเนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต่อมาเมื่อมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา โรงเรียนบางแห่งกลับไม่รับเข้าเรียนเนื่องจากเป็นคนผิวดำ ทำให้ต้องออกกฎหมายมาเพื่อบังคับให้โรงเรียนต่างๆรวมทั้งสถานศึกษายอมรับนักเรียนผิวสี โรงเรียนที่ตั้งขึ้นเป็นระบบที่ต้องอิงกับระบบเนื่องจากมี        ความต้องการทุนและครูมากขึ้น ทำให้การศึกษาได้รับผลกระทบจากการครอบงำทางการเมือง และเมื่อการเหยียดผิวกลับมามีอิทธิพลในการเมืองอเมริกันก็ทำได้นักเรียนผิวดำถูกลงโทษทางการเมืองเป็นอันดับแรก

–                   สวัสดิการ

สวัสดิการที่สำคัญคือ การรักษาพยาบาลเป็นส่วนที่สะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันในสังคม คนอเมริกันผิวดำที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ค่อนข้างต่ำมักมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่างๆในอัตราที่สูง นอกจากนี้ การที่คนกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทำให้เป็นโรคได้ง่ายกว่า คนส่วนอื่น คนผิวดำมักไม่ได้รับการรักษาในระดับที่เท่าเทียมกับคนผิวขาว ทั้งในอัตราการได้พบแพทย์ที่ต่ำกว่า หรือการที่คนผิวดำมักไม่ค่อยได้รับการเข้าตรวจร่างกายประจำปี ต่างจากคนผิวขาวที่มักเข้าตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคนขาวแล้ว คนผิวดำมีอัตราการตายจากโรคต่างๆเช่นโรคหัวใจ โรคปอดบวม โรคเบาหวานและโรคมะเร็งมากกว่า(8)

 

บทที่ 4 เปรียบเทียบความเป็นทาสกับเสรีภาพ โดยอิงทฤษฎีเสรีนิยม

       

ความเป็นทาส

ทฤษฎีเสรีนิยม

–                    มีสถานะเป็นทรัพย์สิน –                    มนุษย์มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง
–                    ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน –                    มนุษย์มีความสามารถในการแสวงหาประโยชน์ได้ตามที่ตนเองต้องการ
–                    ฐานะขึ้นอยู่กับระบบการเมือง –                    มนุษย์มีความสามารถในการกำหนดชีวิตของตนเอง
  1. 1.              สถานะของทาส

ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ทาสมีฐานะเป็นเพียงทรัพย์สินของเจ้านาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทาสไม่มีความเป็นมนุษย์หรือเป็นเพียงมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดจากคนขาวที่ไม่ต้องการให้คนผิวดำขึ้นมามีอิทธิพลทางการเมืองและต้องการใช้ประเด็นเรื่องความแตกต่างของความเป็นมนุษย์ในการขยายดินแดนและการล่าอาณานิคม ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดเสรีนิยมอย่างเห็นได้ชัดที่เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันและมีความสามารถในการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น โดยที่สังคมจะเป็นตัวหล่อหลอมความคิดและให้การศึกษา ทำให้ในที่สุด มนุษย์ทุกคนจะมีความสามารถในระดับหนึ่งในการหาเลี้ยงชีวิตและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

  1. 2.              สิทธิขั้นพื้นฐาน

ผลพวงจากการที่ทาสไม่มีฐานะเทียบเท่ามนุษย์ในสังคม ทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับกลับลดหลั่นลงไปตามจริยธรรมและน้ำใจของผู้เป็นเจ้านาย ทาสส่วนใหญ่ไม่ได้รับ          การปฏิบัติอย่างดี ทาสไม่มีสิทธิในตัวเอง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ามีการค้าทาส และยังมีการทารุณทาสโดยที่ไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการกระทำที่กดขี่และไร้มนุษยธรรม ในขณะที่ทฤษฏี     เสรีนิยมมองว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะสิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเอง เพราะทุกคนสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามความสามารถที่ตนเองมี ดังนั้นรูปแบบการปกครองแบบ “ระบบทาส” ควรเปลี่ยนเป็นระบบแรงงานเสรี เพื่อให้การทำงานระหว่างเจ้านายและแรงงานเป็นไปในระดับที่แรงงานสามารถจัดการสิ่งที่เป็นประเด็นส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง

  1. 3.              การกำหนดชีวิตตนเอง

หากศึกษาจะเห็นได้ว่าคนผิวดำและทาสมีความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อหลุดออกจากวงจรระบบความเป็นทาส แต่ในที่สุดความพยายามเหล่านั้นก็ไม่ได้รับผลต่อรับที่ดี เนื่องจากว่า ทาสเป็นประเด็นที่สำคัญต่อการเมืองของสหรัฐฯ ทำให้การที่จะมีทาสหรือยกเลิกระบบทาสกลายเป็นเรื่องที่อ่อนไหวทางการเมือง ทาสจึงไม่สามารถกำหนดหรือขยับออกจากระบบที่ได้บัญญัติให้การเมืองเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ทาสจึงไม่มีสิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเองแต่อย่างใด ในขณะที่ทฤษฏีเสรีนิยมให้ความสำคัญกับปัจเจกในแง่ที่ว่าปัจเจกมีความสามารถในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเองตามความสามารถ

บทที่ 5 การต่อสู้ของคนผิวดำและทาสเพื่อความเท่าเทียมในสังคม

        หากมองกลับไปในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าทาสนิโกรมีโอกาสที่จะได้รับเสรีภาพจากการเป็นทาสและกลายเป็นเสรีชน จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ 2 เหตุการณ์ที่มีความสำคัญในแง่“โอกาส”ที่ทาสจะเป็นเสรีชนโดย      ไม่ต้องทำการลุกฮือหรือทำการกบฏ ครั้งแรก คือ           การปฏิวัติอเมริกาในปี 1776 และอีกครั้ง คือ สงครามกลางเมืองในปี 1861-1865 หากมองจุดประสงค์ของ              การเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ครั้ง จะเห็นว่าไม่ได้ตั้งใจที่จะปลดปล่อยทาสเป็นพื้นฐาน แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเป็น  “การปฏิวัติทางการเมือง” (9) จึงกล่าวได้ว่า การกระทำดังกล่าวส่งผลเป็นนัยยะการดำรงอยู่ของระบบทาสด้วยเช่นกัน

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ทาส” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเกิดการปฏิวัติดังกล่าว เนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมมากขึ้น ทำให้เกิดโครงสร้างและระบบการดำเนินงานของชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความต้องการที่จะปลดปล่อยทาสให้กลายเป็นแรงงานเสรี เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความตระหนักในเรื่อง “เสรีภาพ” และ“อิสรภาพ” เป็นพื้นฐาน

การเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ในช่วงสงครามกลางเมือง              มีประเด็นเรื่องความเป็นทาสเป็นสำคัญ หากแต่การมีอยู่หรือหมดสิ้นไปของทาสอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบในการตระหนักถึงความสำคัญของระบบและโครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาในช่วงดังกล่าว

การปฎิวัติอเมริกา

 หากมองย้อนกลับไปตามประวัติศาสตร์ “เสรีภาพของสหรัฐอเมริกา” แล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจนในช่วงการปฏิวัติอเมริกาที่ต้องการประกาศเอกราชจากประเทศอังกฤษซึ่งหากมองลึกลงไป ช่วงเวลาดังกล่าวอาจไม่ได้กล่าวถึงเสรีภาพในบริบทของ “ชาวอเมริกันผิวขาว” เท่านั้น หากแต่เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อฐานะและความเป็นทาสของคนดำ

จากคำประกาศของบิดาแห่งการปฏิวัติอเมริกาโดยเฉพาะคือ โทมัส เจฟเฟอร์สันได้ประกาศไว้ใน “คำประกาศเอกราช”ว่า “คนเราทั้งหลายเกิดมาเท่าเทียมกัน……และ                          มีสิทธิทางธรรมชาติอันได้แก่ สิทธิในชีวิต อิสรภาพและ           การแสวงหาความสุข” (10) ประโยคดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นต้นแบบและอุกมการณ์ประจำชาติของสหรัฐอเมริกา หากแต่   ความเสรีไม่ได้สามารถสร้างขึ้นมาโดยตัวมันเองได้ ภาวะความเสรีของชาวอเมริกันมีต้นแบบมาจากของยุโรปโดยยึดถือปรัชญาของยุโรปเป็นหลัก ซึ่งในคำประกาศอิสรภาพได้มีการต่อต้าน        ความเป็นทาสที่ต้องตกอยู่ภายใต้อังกฤษ และการที่อังกฤษได้กดขี่ข่มเหงคนในอาณานิคมซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันต่อต้านและเกลียดชัง

ช่วงหลังการปฏิวัติอเมริกาได้มีการใช้คำว่า”เสรีภาพ”ควบคู่ไปกับคำว่า “ทาส”                 ในการเขียนข้อความทางการเมือง หากแต่ความว่า”ทาส” ในตอนนั้นได้หมายความถึงการกดขี่     ทุกรูปแบบ จึงเป็นภาวะที่มีความเป็นคู่ตรงข้ามอย่างสุดขั้วของความสุขกับความข่มขื่นอย่างสุดขั้ว เป็นการแสดงว่าในสังคมอเมริกันสมัยนั้นมีความตระหนักถึงความเป็นทุกข์ของความเป็นทาส หากแต่การใช้คำว่าทาสดังกล่าว เป็นการนำมาใช้เพื่อการต่อสู้ทางการเมืองโดยเฉพาะการต่อต้านอังกฤษ ซึ่งไม่ได้มีความหมายในเชิงที่บอกว่าคนกลุ่มหนึ่งขาดสิทธิความเป็นมนุษย์หรือการกระทำอย่างรุนแรงต่อคนบางกลุ่ม

ในช่วงเวลาที่มีการต่อสู้เพื่อเอกราช คนผิวดำได้มีการเคลื่อนไหวและได้รับผลกระทบมากมายจากการที่อาณานิคมทำสงครามกับอังกฤษ และได้มีกรณีที่เจ้านายบางส่วนได้ปลดปล่อยคนผิวดำออกจากความเป็นทาส เนื่องจากมีความเข้าใจในความเป็น”ทาส” และความทุกข์ทรมานที่ได้รับจากสภาวะดังกล่าว ทำให้เกิดคนผิวดำเสรีหรือเป็นไท ดังนั้น จึงเกิดความร่วมมือจาก         คนผิวดำ(ทั้งเป็นทาสและเป็นคนเสรี)ในการต่อสู้กับอังกฤษโดยที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม คนผิวดำเองยังมีความคิดที่ต้องการให้คนผิวขาวปลดปล่อยคนผิวดำจากความเป็นทาสที่ได้รับมาอย่างยาวนาน

ส่วนกลุ่มคนดำเสรีที่เข้าร่วมสงครามปฏิวัติอเมริกา มักเป็นพวกที่เคยเป็นทาสแล้วได้    เป็นไทในเวลาต่อมา การออกจากความเป็นทาสทำได้โดยหลายวิธี เช่น การที่นายให้เสรี            จากการซื้อไถ่ตัวเอง หรือกลุ่มที่หนีจากไร่ของเจ้านาย ซึ่งกรณีสุดท้ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง       การปฏิวัติ กลุ่มทาสเสรีไม่ได้ต้องการเสรีภาพแบบเดียวกับคนที่ยังเป็นทาส สำหรับคนกลุ่มนี้ต้องการที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองและได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะปัจจัยทางการเมือง          มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการทำมาหากิน ซึ่งเป็นผลจากการที่คนผิวดำมักถูกคนผิวขาวตีความว่าต้องเป็นทาส และนำไปสู่การลิดรอนซึ่งสิทธิต่างๆ และส่งผลให้ความเสรีที่มีลดลงไป

จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เสรีภาพได้ฟุ้งกระจายไม่เพียงแต่ในหมู่คนผิวขาว แต่         ได้กระจายอย่างกว้างขวางในหมู่คนผิวดำ และอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความเสรีได้กระจายสู่        คนผิวดำเป็นจำนวนมากมาจากการที่ คนดำได้เข้ารีต ซึ่งเป็นผลจากการตื่นตัวทางศาสนาและ      ได้รับความรู้เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในสายตาของพระเจ้า(11) ซึ่งได้ส่งผลให้คนขาวจำนวนหนึ่งมีความไม่พอใจที่คนดำสามารถเข้ารีตได้ เนื่องจากการเข้ารีต จะทำให้คนผิวดำกลุ่มนี้ได้รับสิทธิ     ในการเรียนและการศึกษา และส่งผลให้เกิดสมาคมเผยแพร่ศาสนาที่ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและศาสนาแก่คนผิวดำ เช่น พวกพิวริตันในนิวแฮมเชียร์ และฟิลาเดลเฟีย(12) ที่ได้จัดตั้ง               โรงเรียนกลางคืนสำหรับคนผิวดำ ต่อมาทำให้ทาสที่สามารถอ่านออกเขียนมีค่าตัวสูงขึ้นในตลาดค้าทาส

การปฏิวัติอเมริกาได้สิ้นสุดลงเพียงเพื่อรักษาเสรีภาพดังที่อ้างว่ามีอยู่แล้วตามธรรมชาติให้กับคนผิวขาวในอาณานิคม และไม่ได้นำมาซึ่งเสรีภาพให้คนผิวดำ แม้ว่าในตอนแรกจะมีท่าทีที่น่าจะให้เสรีภาพตามคำประกาศอิสรภาพ แต่ก็ล้มเลิกไปในที่สุด เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ฝ่ายที่ประกาศอิสรภาพในช่วงสงครามอย่างจริงจังแก่ทาสผิวดำ คืออังกฤษ ที่ต้องการให้คนผิวดำเข้าร่วมต่อสู้เคียงข้างทหารจากอังกฤษ อังกฤษได้ออก “คำประกาศเลิกทาสในสหรัฐฯ”                            ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 1775 ว่า “ให้เสรีภาพแก่ลูกจ้างแรงงาน นิโกรและอื่นๆที่เต็มใจใน           การจับอาวุธเข้าร่วมกองทัพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” (13)

หลังการปฎิวัติอเมริกา ความฝันของคนผิวดำในเรื่องเสรีภาพได้ล่าช้าออกไป และได้เกิดการถกเถียงรวมทั้งเรียกร้องในประเด็นปัญหาการเลิกทาสเป็นอย่างมาก ในช่วงแรก รัฐทางภาคเหนือได้ออกกฎหมายยกเลิกระบบทาส หรือพยายามลดจำนวนทาสลงเพื่อให้หมดสิ้นไปใน ไม่ช้า โดยมีการออกกฎหมายให้มีการปลดปล่อยทาสได้ง่ายขึ้น และกระแสนี้ได้สิ้นสุดลง          เมื่อกระแสอนุรักษ์นิยมจะหันกลับมาต้านการยกเลิกระบบทาส โดยเห็นได้ชัดจากการที่รัฐธรรมนูญสหรัฐฯในปี 1787 ไม่ได้กล่าวถึงคำว่า “ทาส” แม้แต่น้อย ต่อมามีการประนีประนอมจากทั้ง 2 ฝ่ายให้ทาสมีเสียงเป็น 3 ใน 5 นับเป็นประชากรที่ไม่สมบูรณ์โดยสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ “ความเป็นประชากร” ตั้งเพื่อการกำหนดจำนวนประชากรเพื่อนำไปคำนวณจำนวนสมาชิสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

ช่วงหลังการปฎิวัติ คนผิวขาวมองคนผิวดำเป็นพวกนอกคอก และเป็นส่วนที่ไม่มีทางผสมกลมกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ ประกอบกับมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างว่า  คนผิวดำเป็นเผ่าพันธุ์ที่ด้อยกว่าคนผิวขาว ทำให้มีความต้องการที่จะรักษาคนผิวดำไว้ในฐานะทาส นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ศาสนาในประเด็นที่ว่าพระเจ้าได้ส่งคนผิวขาวมาดูแลคนผิวดำ จะได้มีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากปล่อยให้คนผิวดำอยู่อย่างลำพังกันเองแล้วจะไม่มี         ทางพัฒนาได้และอาจเสื่อมลงอีกด้วย

หลังได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแล้ว ได้เกิดระบบทางการเมืองใหม่ขึ้นในสหรัฐฯ            ในตอนแรก คนผิวขาวที่มีทรัพย์สินเท่านั้นที่จะเป็นบุคคลที่เป็นอิสระแก่ตนเองเพื่อเป็นอำนาจอื่นๆต่อไป ในกรณีคนผิวดำ มีการตีความในรัฐธรรมนูญว่า “บรรดาทาสทั้งหลายแม้จะอยู่ในดินแดนแห่งรัฐมาก่อนก็ตาม แต่พวกเขาก็ไม่ถือว่าเป็นพลเมืองที่มีสิทธิทางธรรมชาติเหมือนกับคนผิวขาวทั้งหลายได้” (14)   โดยมีเหตุผลว่า

  1. คนผิวขาวไม่ยอมรับความคนผิวดำเป็นสมาชิกของสังคม คนนิโกรทั้งที่เป็นทาสและเป็นอิสระไม่ได้ทำสัญญาการอยู่ร่วมกัน แต่เป็นเพียงทรัพย์สินหรือแรงงานที่ถูกนำ  เข้ามา ดังนั้น จึงไม่มีสิทธิทางธรรมชาติเหมือนคนขาวได้ นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าหากคนผิวดำมีความเท่าเทียมกับคนผิวขาวในสังคมจะทำให้เกิดความวุ่นวาย      ทางการเมืองได้ เนื่องจากคนผิวดำจะเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ความเชื่อของ คนผิวขาวในสมัยนั้น เห็นว่าคนดำไม่มีเสรีภาพเท่าเทียมกับคนผิวขาว เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ ซึ่งสะท้อนออกมาจากการร่างรัฐธรรมนูญว่าไม่ได้คิดว่าคนผิวดำมีความเป็นมนุษย์
  2. ขนาดและความเข้มข้นของการปฏิวัติอเมริกา(15) คนผิวดำต้องการให้การปฏิวัติครั้งนี้เข้มข้น โดยต้องการให้เปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมให้เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือการโค่นล้ม แบบถอนรากถอนโคน ในขณะที่คนขาวมองว่าเป็นการเรียกร้องทางนามธรรมเพื่อหลุดพ้นจากการที่ถูกอังกฤษกดขี่ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องในคนละกรณีกับ     คนผิวดำ

จากการที่อุดมการณ์การปฏิวัติและการปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน ทำให้ทาสคนผิวดำต้องรวมตัวกันเองเพื่อเรียกร้องและต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพของพวกเขา โดยมีตั้งแต่การฟ้องร้องต่อศาล การร้องทุกข์ต่อรัฐสภา และการสมัครเข้าเป็นทหาร ส่วนทาสที่ไม่สามารถเข้าไปให้กระบวนการศาลหรือสภา ต้องแสดงออกด้วยการประท้วง โดยเริ่มจากการประท้วงในการทำงาน ทำให้เกิดความตึงเครียดในการควบคุมการทำงานและความประพฤติของทาสเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนผิวดำเริ่มมีการดื้อเงียบและการประท้วง นอกจากนี้ยังมีการหลบหนีจากเจ้านายซึ่งถือเป็น               การแสดงออกที่ชัดเจนที่สุด โดยหลังจากหลบหนีแล้วก็ได้มีการรวมตัวกันก่อตั้งชุมชนขึ้นมา

จากที่กล่าวมาอาจสรุปได้ว่า แนวคิดเรื่องเสรีภาพของคนผิวดำในช่วงการปฏิวัติอเมริกาได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเสรีภาพของปรัชญาในยุโรป ซึ่งกลุ่มทาสได้มาจากทั้งการที่นายจ้างเผยแพร่ความรู้ให้และจากคนผิวขาวที่พวกเขามีปฎิสัมพันธ์ด้วย ทาสไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเนื่องจากกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ไม่อนุญาตให้สอนหนังสือแก่ทาส เนื่องจากหวาดกลัวว่า การศึกษาจะนำไปสู่ความวุ่นวายจากความไม่พอใจในความเป็นทาส และจะสร้างความรุนแรงและการทำลายชีวิตของนายทาสเพื่อต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความหมายของเสรีภาพของคนดำถูกทำลายในช่วงการปฏิวัติ เมื่ออำนาจรัฐและเจ้านายของทาสไม่เห็นด้วยและไม่ต้องการให้เสรีภาพแก่     พวกทาส ทำให้การต่อสู้ของคนดำในการเรียกร้องเสรีภาพเป็นเพียงการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่พื้นฐาน มากกว่าการเรียกร้องความเท่าเทียมกันที่เป็นนามธรรมมากกว่าเดิม

สงครามกลางเมือง

 การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางประเทศในช่วงศตวรรษที่ 19 มีผลต่อ        การสร้างคุณค่าความหมายแก่ปัจเจกชนคนผิวขาวมากขึ้น

การที่จะเป็นเสรีชนได้ต้องมีกระบวนการเดียวกับคนผิวขาว คือ การมีทรัพย์สินส่วนตัว และต้องเป็นพลเมืองผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง แต่ในสภาพความเป็นจริงทาสและคนผิวดำไม่มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับทาสที่พวกเขาเป็นทรัพย์สินและเป็นแรงงานที่ไม่เสรีอีกด้วย ซึ่งหมายความว่า ตัวทาสเองเป็นเครื่องมือการผลิต และเป็นคนที่ไม่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่มีตัวตน ดังนั้น หากมองในเชิงโครงสร้างสังคมแล้วคนผิวดำไม่มีโอกาสที่จะมีเสรีภาพแบบอเมริกันได้เลย

จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้คนผิวดำยิ่งลุกเหิมและต้องการต่อสู้หาทางที่จะสร้างความหมายของเสรีภาพในบริบทของคนผิวดำขึ้นมาได้ โดยที่มีพื้นฐานพัฒนาการมาจากเสรีภาพของ          ชาวอเมริกันนำมาผสมผสานเข้ากับความเป็นแอฟริกา ต่อมาได้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง   ในชื่อ ขบวนการสิทธิพลเมือง(16) ที่ทำให้ความหมายของสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพส่วนบุคคลของคนกลุ่มน้อยมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

ในช่วงสงครามกลางเมือง คนดำ  ทั้งที่เป็นเสรีชนและเป็นทาสก็ได้เข้าร่วมสงครามระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้เช่นเดียวกัน สิ่งที่พวกเขาหวัง คือการได้รับเสรีภาพจากความเป็นทาส ซึ่งสงครามกลางเมืองมีทั้งผลดีต่อการหลุดออกจากการเป็นทาสและมีผลด้านลบต่อการเป็นเสรีชนของทาส

การที่มีการลุกฮือเพื่อต้องการเสรีภาพได้กลายเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งได้แพร่หลายทางภาคเหนือ ในขณะที่ทางใต้เป็นฐานของการใช้แรงงานทาส จนกระทั่งชนชั้นกลางเริ่มอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมใน ลัทธิเสรีนิยม โดยบอกว่าปัจเจกชนที่เป็นอิสระไม่ได้รับรองและเสนอถึงความเป็นเสรีของทาสเท่านั้น(17) แต่ยังเสนอถึงความก้าวหน้าของระบบทุนที่ประสบความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม     อีกด้วย

ผลด้านลบจากการที่เกิดสงครามกลางเมืองคือ โครงสร้างอำนาจการเมืองในสหรัฐฯ        ถูกควบคุมโดยอำนาจของนายทาส รัฐทางใต้ยืนยันจะปกป้องรักษาระบบทาสไว้ ส่วนรัฐทางเหนือต้องการทำให้ระบบทาสล้มเลิกไป จนกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนนี้ส่งผลกระทบต่อการเมืองโดยเฉพาะในสภาคอนเกรสที่จะเสียดุลไปหามีฝ่ายใดได้สมาชิกเข้ามาเพิ่ม นอกจากนี้ประธานาธิบดีก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งว่านโยบายในเรื่องนี้จะโอนเอียงไปทางใด

การต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนผิวดำหลังการประกาศเลิกทาสโดยประธานาธิบดีลิงคอล์น  ทำให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพในหลายนัยยะ จนทำให้เป็นสิ่งที่ดูไม่ชัดเจนและล่องลอย แม้ว่าในสายตาของคนผิวดำจะมองว่าเป็นสิ่งที่ใกล้พอจะคว้าได้         แต่ในที่สุดแล้วสิ่งเหล่านี้ก็ลอยหายไป ในเรื่องเสรีภาพของ        คนผิวดำได้เปลี่ยนไปเมื่อเกิดความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจช่วงสงครามกลางเมือง และสุดท้ายเรื่องทาสกลายเป็นปัจจัยชี้ขาดสงครามกลางเมืองในที่สุด ในช่วงระยะฟื้นฟูบูรณะภาคใต้ได้มีการให้สิทธิทางการเมืองและการปกครองแก่คนดำเป็นครั้งแรก(18) คนผิวดำมีโอกาสที่จะได้รับเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารและจัดการปัญหา รวมทั้งเสนอความต้องการของคนเป็นครั้งแรก เสรีภาพดังกล่าวได้เกิดขึ้นเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน จากการประนีประนอมระหว่างพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต เพื่อ   ลดภาวะความตึงเครียดทางด้านการเหยียดเชื้อชาติ มีการบังคับให้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 15 ที่ประกาศใช้หลังสงครามกลางเมือง สาระคือ การประกันการมีสิทธิทางการเมืองของคนผิวดำที่เป็นคนเสรีแล้วและจะยอมถอนทหารของรัฐบาลกลางที่คุมภาคใต้อยู่ออกไป(19) การกระทำดังกล่าว   ทำให้คนผิวดำและทาสได้รับเสรีภาพอย่างเป็นทางการมากขึ้น หากแต่อดีตนายทาสได้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่ม Klu Klax Klan ที่ได้ใช้ความรุนแรงในการกดขี่และทำลายคนดำ

เมื่อฝ่ายใต้พ่ายแพ้หลังการประกาศเลิกทาส ทำให้บรรดาทาสต่างดีใจที่จะได้เสรีภาพ                แต่คนผิวขาวบางส่วนยังเกรงว่าคนดำยังไม่พร้อมที่จะมีเสรีภาพเป็นของตัวเอง เนื่องจากคนผิวดำ          ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา และยังขาด ความรับผิดชอบ ทาสที่เคยอยู่ในระบบมาเป็นเวลานานจะไม่สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง      การที่คนดำกลายเป็นแรงงานเสรียังต้องได้รับการสั่งสอนและการอบรมจากคนผิวขาวอีกมาก อีกทั้งการที่คนดำไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ก็ส่งผลต่อการทำงานของคนกลุ่มนี้ นอกจากนี้ การที่กลุ่มฝ่ายเหนือดูแลและอบรมแรงงานกลุ่มนี้ ก็เป็นการกระทำในแนวทางเดียวกับ  การใช้ระบบทาส คือการสอนว่าให้ทำงานเพื่อที่จะได้รับความรักและความเห็นใจจากผู้อื่น นอกจากนี้ ยังมีทาสกลุ่มหนึ่งที่ยังอยู่และทำงานกับนายทาสเดิมโดยได้ค่าตอบแทน

ทสรุป

                 หากจะกล่าวถึงเสรีภาพของคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าในเชิงทฤษฎีและ      เชิงปฏิบัติได้มีความขัดแย้งกันมาตลอดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ที่คนผิวดำมีความหวังที่จะได้รับเสรีภาพเป็นครั้งแรก ในการปฏิวัติอเมริกา และครั้งต่อมาในสงครามกลางเมืองที่มีการเรียกร้องสิทธิพลของเมือง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการต่อสู้ที่กินเวลายาวนาน

สิ่งที่ยากสำหรับการทำให้คนผิวดำได้รับการยอมรับจากสังคมโดยไม่ถูกมองในระดับ  ชาติพันธุ์เป็นไปได้ยาก อาจเกิดจากความขัดแย้งของสองแนวคิด(19)  คือ “การยอมรับ”ในชีวิตที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข แม้ว่าจะมีความอยุติธรรมในชีวิต แต่ก็สามารถดำรงอยู่อย่างอดทนได้โดยที่ไม่รู้สึกลำบากมากแต่อย่างใด และแนวทางที่สอง ที่ค่อนข้างขัดแย้งกัน คือ        “ความเท่าเทียม” ต้องมีการต่อสู้เพื่อให้เกิดภาวะดังกล่าวหากไม่ได้รับความยุติธรรม สิ่งนี้ทำให้ภาวะที่คนในสังคมต้องก้าวข้ามสิ่งที่ขัดแย้งกันนี้

เนื่องจากสังคมอเมริกันมีแนวคิดพื้นฐานตั้งอยู่บนอุดมการณ์ที่เรียกว่าเสรีประชาธิปไตย ทำให้มีการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ อิสรภาพ รวมทั้ง “ความเท่าเทียม” กันของผู้คนในสังคม โดยเห็นได้จากเอกสารที่ได้ตราออกมาจาก เหตุการณ์ที่สำคัญ 2 ครั้ง ได้แก่ “คำประกาศเอกราช” และ “รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา” ที่เป็นกระบวนการที่คนผิวดำ(ทั้งที่เป็นทาสและเป็นไท)ได้     ร่วมเข้าต่อสู้ร่วมกับคนผิวขาวมาตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตามคนผิวดำหรือกลุ่มคนที่มีเชื้อสายแอฟริกันมักจะถูกกีดกันจากการเมืองรวมทั้งการขึ้นมามีอำนาจในสังคม ซึ่งเป็นผลจากการที่ไม่ได้            รับสิทธิการเป็นพลเมือง รวมทั้งยังได้รับการเหยียดเชื้อชาติตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้คนผิวขาวสามารถปกครองคนผิวดำได้อย่างเบ็ดเสร็จ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสังคมที่มีการกล่าวขานว่าเป็นดินแดนแห่งความเสรี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นตรงกันข้าม ดังจากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้วว่า ภายในสังคมอเมริกัน ได้เกิดชนชั้นมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นตัววัด และหนึ่งในนั้น คือ การที่แบ่งชนชั้นจากสีผิว ซึ่งแม้จะไม่ได้แสดงออกในเชิงนามธรรมที่ภายนอกสามารถรับรู้ได้อย่างกว้างขวาง แต่หากมองหรือศึกษาถึงระบบภายในจะเห็นได้ว่า แม้ในปัจจุบันก็ยังแฝงด้วยระบบดังกล่าวอยู่

ดังนั้น จึงเกิดคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดในสังคมที่ดูอุดมไปด้วยเสรีภาพกลับไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันดังกล่าวได้ โดยพื้นฐานแล้วคนผิวดำนั้นก็มีวัฒนธรรมและความคิดความรู้สึกของคนเอง ต่อมาเมื่อเข้ามาในสังคมอเมริกันแล้วต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ทำให้คนผิวดำได้รับวัฒนธรรมของ       คนอเมริกันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน

เนื่องจากประเด็นดังกล่าว ทำให้เกิดความซับซ้อนอย่างยิ่งของการแก้ปัญหาคนผิวดำ      ในสหรัฐฯ เนื่องจากหากคนผิวดำต้องการออกจากชีวิตคนผิวขาวไปเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะ คนผิวขาวก็เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของสังคมคนผิวดำ หากแต่การยอมรับให้คนผิวขาวกระทำแบบเดิมอย่างต่อเนื่องก็จะต้องทนอยู่ในภาวะกดขี่และไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งในที่สุดแล้ว      ก็จะเป็นที่จะต้องหาทางออกได้ 2 วิธี โดยอาจประนีประนอมกันระหว่างอำนาจรัฐขาวและ      ความเป็นแอฟริกาเพื่อความอยู่รอด หรือจะปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจขาวนี้(20) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถเลือกทางใดทางหนึ่งได้ หากต้องใช้ทั้ง 2 วิธีเพื่อความอยู่รอด

 

บรรณานุกรม

ภาษาอังกฤษ

Hanes Walton, Jr. and Robert C. Smith (2002). American politics and the African American quest for universal freedom, 2nd ed. Addison Wesley Longman, Inc.

John Arthur (2007). Race, equality, and the burdens of history. New York : CambridgeUniversity Press.

John Hope Franklin and Alfred A. Moss, Jr (1994). From Slavery to Freedom : A History of African Americans, 7th ed. McGraw-Hill, Inc.

Rebecca Brooks Gruver (1981). An American History, Volume I : to 1877, 3rd  ed. New York : Addison-Wesley Publishing Company.

Richard T. Schaefer (1989). Racial and Ethnic groups, 4th ed. HarperCollinsPublishers.

ภาษาไทย

 

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (2548). การเมืองการปกครองสหรัฐอเมริกา : แนวพินิจทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

จอยซ์ เอ. แลดเนอร์ , รุ่งฤดี ธีรบวร (2546). แด่อนาคต ค่านิยมอันทรงคุณค่าของชาวอเมริกันเชื่อสายแอฟริกา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มาลินี ประเสริฐธรรม (2538). สหรัฐอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (2546). เสรีภาพและความเป็นทาสของคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (2551). ความคิดเห็นทางการเมืองของคนอเมริกันผิวดำจากทาสสู่เสรีชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว

สมพงศ์ ชูมาก (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน (ทศวรรษ 1990 สู่ทศวรรษแรกแห่งศตวรรษที่ 21 ), พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

My original text was publish : http://www.liknice.wordpress.com

OCTOBER 4, 2012

[opinion]การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง / ข้อสอบ takehome

การแบ่งยุคสมัยถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ ในฐานะที่นักศึกษาศึกษาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน นักศึกษาเห็นว่าควรแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ในช่วง 7 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างไรจึงจะสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศได้อย่างชัดเจน ในการนี้ขอให้นักศึกษาระบุเหตุผลในการแบ่งยุคสมัยในลักษณะที่นักศึกษานำเสนอมาโดยละเอียด

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างและการดำเนินนโยบายต่างๆ รวมทั้งความเป็นอยู่การดำรงชีวิตของคนในสังคม  แต่หากจะแบ่งประวัติศาสตร์โดยรวมแล้วนั้นจะได้ผลสรุปดังนี้

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 1945-1952 เป็นช่วงที่สหรัฐอเมริกายึดครองญี่ปุ่นเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างต่างๆของญี่ปุ่น ให้เป็นไปตามที่สหรัฐอเมริกาต้องการ โดยสหรัฐอเมริกาจะเน้นในการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมทั้งทำให้คนญี่ปุ่นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงดังกล่าวการดำเนินกิจกรรมต่างๆของญี่ปุ่น อยู่ภายใต้การควบคุมของสหรัฐอเมริกา ข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่า การศึกษาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นหลังจากที่สหรัฐอเมริกาออกจากญี่ปุ่นไปแล้วมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก

ในช่วงปี 1952-1973 เป็นช่วงที่การเมืองของญี่ปุ่นอยู่ในระบบที่พรรคการเมืองจัดรูปแบบสมบูรณ์ มีความเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเข้มแข็งและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง  ส่วนโครงสร้างทางสังคมญี่ปุ่นในช่วงนี้ ยังคงวัฒนธรรมเดิมและยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการใช้ชีวิตมากนัก และในส่วนการต่างประเทศเป็นช่วงที่ใช้ Yoshida doctrine และปี 1973 เป็นปีที่มีความสำคัญคือ เกิดวิกฤตน้ำมัน ซึ่งส่วนทำให้เกิดปัญหาในระดับโลก ดังนั้นแล้วในช่วงเวลาที่กล่าวมา จึงเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวทั้งในเชิงนโยบายภายในประเทศและภายนอกประเทศ

การเมือง ในปี 1955 เป็นปีที่พรรคการเมืองของญี่ปุ่นมีการจัดรูปแบบอย่างสมบูรณ์ และเป็นส่วนที่การเมืองญี่ปุ่นมีเสถียรภาพ จนกระทั่งปี 1973 ที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน ทำให้พรรครัฐบาลต้องมี            การปรับตัวโดยเปลี่ยนนโยบายต่างเพื่อทำให้ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงอยู่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความมีเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจากหากศึกษาประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจแล้วจะเห็นได้ว่า การเมืองมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการดำรงอยู่ของ       การเจริญทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ ในช่วงปี 1952-1955 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจโดยรวมของโลกค่อนข้างดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตในลักษณะที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าหาผลประโยชน์จากการก้าวหน้าดังกล่าวได้ จนกระทั่งปี 1973 ที่เกิดปัญหาวิกฤตน้ำมันที่ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นประสบกับภาวะขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี นอกจากนี้ ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ

สังคม ในช่วงดังกล่าว ลักษณะโครงสร้างทางสังคมของคนญี่ปุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักถึงแม้จะเริ่มมีการขยายของตัวเอง และมีกลุ่มชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  ลักษณะโครงสร้างครอบครัวยังคงเป็นลักษณะสังคมขยาย ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง กระทั่งต้นทศวรรษที่ 1970 ที่เป็นช่วงปลายยุค pop culture มีกลุ่มศาสนาใหม่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่ามีความสำคัญ คือการเปลี่ยนแปลงของระบบโครงสร้างครอบครัว

การต่างประเทศ ในช่วงปี 1952 -1973 ญี่ปุ่นใช้นโยบายต่างประเทศภายใต้ Yoshida doctrine โดยเน้นความมั่นคงภายใต้การมีอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นไม่ได้ให้ความสำคัญกับภูมิภาคอื่นๆยกเว้นสหรัฐอเมริกาและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในปี 1973 ที่ทำให้ญี่ปุ่นเห็นว่าต้องมีการปรับตัวทางด้านนโยบายการต่างประเทศเพื่อให้สามารถดำเนินความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่อง “น้ำมัน”ที่ญี่ปุ่นมีความจำเป็นต้องนำเข้าเป็นจำนวนมหาศาล

ต่อมาในช่วงปี 1973-1990 เป็นช่วงที่มีการผันผวนทางด้านนโยบาย ทำให้ต้องเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ในการดำเนินนโยบายของญี่ปุ่น ผลจากการเกิดวิกฤตน้ำมันครั้งแรก ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มราคาสูงขึ้น และการที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมหาศาลนั้น ก็ส่งผลให้ญี่ปุ่นได้เริ่มปรับปรุงเทคโนโลยีขนานใหญ่

การเมือง ผลจากวิกฤตการณ์น้ำมัน ในปี 1973 ทำให้รัฐบาลของญี่ปุ่นมีความจำเป็นต้องปรับและให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเพื่อทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง จนกระทั่งช่วงทศวรรษ1990 ที่เสถียรภาพทางการเมืองของญี่ปุ่นได้ล่มสลายลงเนื่องจากการพรรค LDP ที่บริหารงานญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานนั้น พ่ายแพ้การเลือกตั้ง

เศรษฐกิจ ปี 1973 ญี่ปุ่นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ทำให้ญี่ปุ่นต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่ประหยัดน้ำมัน รวมทั้ง รักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มมีความตระหนักถึงจำนวนน้ำมันที่หมดไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้ในที่สุดญี่ปุ่นก็ได้กลับขึ้นมามีบทบาททางเศรษฐกิจอีกครั้งในฐานะที่เป็นผู้ที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งต้นทศวรรษที่1990 ที่เริ่มเกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกครั้ง

ด้านสังคม ในช่วงปี 1973 ถึง 1990 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว โดยเปลี่ยนจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนญี่ปุ่นอพยพเข้าสู่ตัวเมืองมากยิ่งขึ้นและ ในช่วงนี้ คนญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดที่ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน

การต่างประเทศ ช่วงปี 1973-1990 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มออกห่างจากสหรัฐอเมริกาและเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่สำคัญคือ เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับจีน เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มกำหนดนโยบายต่างประเทศเองบ้างโดยที่ไม่อิงกับสหรัฐอเมริกาเท่าช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้เห็นได้ว่าญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกร่วมกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นมาต้องการที่จะแข่งขันเพื่อให้ชนะสหรัฐอเมริกา แต่ยังต้องการให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ควบคุมระบบโลกแบบเดิมต่อไป

และในช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบันนั้น ก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นเสมือนผลจากประวัติศาสตร์ยุคต่างๆที่ทำให้เป็นผลและเป็นตัวอย่างที่สำคัญหากจะปรับแก้นโยบายเพื่อให้การดำรงอยู่ของประเทศมีความก้าวหน้าต่อไป ซึ่งปี 1990 เป็นช่วงที่มีปรากฏการที่สำคัญ คือ เป็นปีที่สิ้นสุดสงครามเย็น ทำให้บทบาทและโครงสร้างของระบบโลกเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นอีกช่วงเวลาที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

การเมือง ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นช่วงที่การเมืองภายในญี่ปุ่นมีความปั่นป่วนเป็นอย่างมาก และไร้เสถียรภาพ จึงน่าจะเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังหาระบบการปกครองญี่ปุ่นใหม่ว่าการเมืองที่เหมาะสมกับญี่ปุ่นนั้น จริงๆแล้วควรจะเป็นระบบแบบใด ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้การเมืองของญี่ปุ่นก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะมีเสถียรภาพมากนัก

เศรษฐกิจ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งในครั้งนี้เกิดจากระบบโครงสร้างภายในของญี่ปุ่นเอง โดยเป็นผลโดยตรงมาจะระบบอุปถัมภ์ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงความไร้เสถียรภาพในการตรวจสอบบริษัทและธนาคาร วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ยังไม่สามารถแก้ได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้ว่าญี่ปุ่นไม่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอัตราเดียวกับที่เคยเป็นมาก่อนในช่วงก่อนหน้านี้

สังคม ตั้งแต่ช่วงปี 1990 ถึงปัจจุบัน ปัญหาทางสังคมที่เป็นปัญหาที่หนักใจแก่รัฐบาลญี่ปุ่นประการหนึ่งคือ การที่สังคมญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมคนชรา เนื่องจากญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดที่ต่ำมากและมีในทางเดียวกันอัตราการตายของคนก็มีน้อยมาก(ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี) ทำให้คนหนุ่มสาวของญี่ปุ่นต้องรับภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอาชญากรรมและการฆ่าตัวตายที่ยังคงเกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่น อาจเกิดจากความเครียดและความกดดันจากการเรียนหรือการทำงานที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงในสังคมญี่ปุ่นก็เป็นได้

การต่างประเทศ ช่วงหลังปี 1990 เป็นช่วงการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศใหม่ของญี่ปุ่น รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาที่น้อยลงมาก อีกทั้งญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาจากการที่มีมาตรา 9 ในเรื่องกองทัพ เนื่องจากในหลายๆเหตุการณ์ญี่ปุ่นไม่สามารถส่งทหารเข้าร่วมรบได้และนโยบายต่างประเทศที่สำคัญคือ การที่ประเทศต่างๆเริ่มมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทำให้ญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมกับภาคส่วนต่างๆมากยิ่งขึ้น

My Original text was published : http://www.liknice.wordpress.com

OCTOBER 18, 2012